Loading...

เที่ยวไปกับ ชิล สแควร์ ทราเวล
 เพื่อนเที่ยวเพื่อนคุณ 

Call Center : 094-545-3095

16 ปัญหาที่ต้องระวังก่อนการเดินทางเข้าประเทศจีน

10 เม.ย. 2557

ศึกษาปัญหาและข้อควรระวังในการท่องเที่ยวประเทศจีนระหว่างการเดินทาง

1.  "พาสปอร์ต" เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งในเมืองจีนก็เช่นกัน นักท่องเที่ยวจะต้องถือติดตัวตลอดเวลา ห้ามเอาทิ้งไว้ในโรงแรม เพราะอาจจะถูกขโมยไปทำเป็นพาสปอร์ตปลอมได้ ซึ่งหากพาสปอร์ตสูญหายในเมืองที่มีกงสุลไทย ได้แก่ กวางเจา เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และคุนหมิงนั้น จะถือว่าโชคดีกว่าหายในเมืองอื่นๆ เพราะจะได้รับความสะดวกในการขอพาสปอร์ตเล่มใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาเพียงแค่ 2 วัน แต่หากหายในเมืองอื่นๆ จะต้องแจ้งความในพื้นที่นั้นๆ ก่อน จึงค่อยนำจดหมายกลับมาที่กงสุลที่ 4 เมืองหลัก และโดยทั่วไปแล้วจะต้องใช้เวลาอีก 1 สัปดาห์ ซึ่งลูกทัวร์จะต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมนั้นเอง
 
2.  กระเป๋าเงิน ปกติผู้ชายจะพกกระเป๋าสตางค์ไว้ที่กระเป๋ากางเกงข้างหลัง ส่วนผู้หญิงจะมักใส่ในกระเป๋าใบใหญ่อีกใบหนึ่ง สำหรับผู้ชายแนะนำว่าให้นำกระเป๋าสตางค์มาใส่ไว้ในกระเป๋าด้านหน้าจะดีกว่า และพบว่ากระเป๋าที่ปลอดภัยที่สุดคือกระเป๋าสะพายสายยาว และหากสะพายกระเป๋าจะต้องสะพายไว้ด้านหน้า
 
3.  แหล่งชอปปิ้ง จุดชมวิว และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่นพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง ในบริเวณที่มีคอกกั้น หรือมีกระจกกั้นๆ ต่างๆ จะเป็นจุดที่มีการล้วงกระเป๋ามากที่สุด
 
4.  หากไปกวางตุ้ง ถ้าไปซื้อของแบกะดิน ห้ามพูดว่า "แพง" ในภาษาไทย เพราะไปพ้องเสียงกับคำว่า "ถูก มากๆ" ในสำเนียงกวางตุ้ง พ่อค้าและแม่ค้าจะนำของใส่ถุงให้ทันที และหากไม่เอาของนั้น อาจถูกต่อว่าจากแม่ค้าได้
 
5.  มีคำกล่าวว่า หากมีแม่ค้าพ่อค้ามาขายของข้างรถ คนซื้อที่หลังจะได้ของถูกกว่า คนซื้อคนแรกจะเปรียบเสมือนวีรบุรุษ เช่น ช่วงโอลิมปิคมีคนเดินมาขายหมวกโอลิมปิคราคา 30 หยวน คนซื้อคนแรกนึกว่าถูกแล้ว คนถัดไปได้ 20 หยวน แต่คนสุดท้ายได้ซื้อในราคา 3 ใบ 10 หยวน จึงจะแนะนำลูกทัวร์เสมอว่า ห้ามนำสินค้ามาอวดกันในรถเด็ดขาด
 
6.  ระวังแบงค์ปลอม โดยเฉพาะการไปซื้อของที่ตลาด ที่ผ่านมามักเจอคนไปซื้อผลไม้ในตลาด ผลไม้มีราคา 10 หยวน แต่นักท่องเที่ยวมักจะมีแบงค์ 100 หยวน พอนักท่องเที่ยวเอาแบงค์ 100 หยวนให้ เขาจะรับไปใส่กระเป๋า แล้วทำท่าค้นหาเศษตังค์มาทอน สุดท้ายบอกไม่มีเงินทอน ให้ยืมเพื่อนมาจ่ายก่อน แล้วหยิบแบงค์ 100 หยวนมาคืน แต่แบงค์นั้นจะเป็นแบงค์ปลอม ซึ่งแบงค์ที่เจอว่าปลอมมากที่สุดมักเป็นแบงค์ 50 หยวน
       นอกจากนี้ยังมีวิธีดูแบงค์จีนง่ายๆ คือ
         1)ถ้าได้แบงค์มาให้สะบัด จะมีเสียงสะท้อนกลับเบาๆ ถ้าไม่มีเสียงอะไรเลย ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นแบงค์ปลอม
         2)ปกเสื้อของท่านประธานเหมา เจ๋อตง ให้เอาเล็บกรีดเบาๆ ที่ปกเสื้อท่านเหมา ถ้าสากๆ เป็นของจริง แต่ถ้าลื่นๆ เป็นของปลอม
         3)หากระดาษขาว 1 แผ่น เอาตัวเลข 100 บนมุมแบงค์มากดเข้าไปในกระดาษขาว ถ้าแบงค์จริงจะมีสีแดงติดออกมา กดกี่ครั้งก็จะติดทุกครั้ง แต่ถ้าแบงค์ปลอมจะไม่ติดสีแดงที่กระดาษขาว
 
7.  ถ้าไปซื้อของในร้านค้าในอาคารต่างๆ โดยเฉพาะของก๊อปปี้ในแหล่งชอปปิ้ง ที่จะมีในทุกเมืองใหญ่เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ จูไห่ เซินเจิ้น ควรจะต่อราคาสินค้าลงมาให้เหลือ 20%
 
8.  หากซื้อสินค้าประเภทกระเป๋า รองเท้า เมื่อลองเรียบร้อยแล้วให้หยิบขึ้นมาเลย เพราะลูกทัวร์จะเจอบ่อยว่าเวลาแม่ค้าเอาของไปใส่ถุงมาให้ มักจะเป็นรองเท้าคนละเบอร์กัน ได้รองเท้าข้างเดียวกัน หรือว่าข้างหนึ่งสีหนึ่ง อีกข้างหนึ่งสีหนึ่งเป็นต้น
 
9.  มาตรฐานโรงแรมของจีน จะยังไม่ใช่มาตรฐานตามหลักสากลนัก หากจองโรงแรมไปเที่ยวเอง บางครั้งอาจพบว่าโรงแรม 4 ดาวของจีน อาจจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าโรงแรม 4 ดาวของประเทศอื่นๆ หรือห้องอาจมีลักษณะแค่ 3 ดาว แต่อยู่ในทำเลค้าขายจึงเรียกว่า 4 ดาวก็ได้เช่นกัน
 
10.  การนั่งรถแท็กซี่ของจีน มักจะถูกพาไปวน หากนักท่องเที่ยวอยากจะไปท่องเที่ยวเองนอกเหนือจากทัวร์และอยากไปแท็กซี่ แนะนำว่าให้ไกด์ท้องถิ่นเป็นคนสื่อสารเส้นทางให้ และระบุเส้นทางไปให้ชัดเจน อีกทั้งแท็กซี่เมืองจีนจะพูดได้ภาษาเดียว คือภาษาจีนกลาง และไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ที่สำคัญควรติดนามบัตรของโรงแรมไปด้วย เพราะไม่ให้เสียเวลาในการหาโรงแรมช่วงขากลับ
 
11.  หากไปอยู่นานๆ และจำเป็นต้องซื้อของอุปโภคมาใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม แนะนำว่าอย่าซื้อในร้านขายของชำของจีน เพราะมีของปลอมจำนวนมาก ที่ผ่านมาเคยไปซื้อสบู่เซฟการ์ด ซึ่งมีลักษณะรูปร่างของกล่องเหมือนที่มีวางขายในเมืองไทย แต่พอนำมาใช้ จะมีกลิ่นที่แตกต่าง ไม่มีความหอม และที่สำคัญยังทำให้เกิดอาการคัน และแพ้แม้กระทั่งน้ำยาล้างจานก็เคยพบว่ามีการทำปลอมเช่นกัน
 
12.  ไม่แนะนำให้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในเมืองจีน โดยเฉพาะ MP3-4 หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะว่าขณะที่ทดลองเครื่อง จะได้เครื่องดีๆ มาในการทดลอง แต่พอได้ของกลับบ้านไป มักจะได้ของที่ไม่สามารถใช้งานได้จริงกลับบ้านไป เช่น MP 4 มี 16 กิ๊กกะไบท์ แต่ฟังได้แค่ 16 เพลง เป็นต้น ส่วนมือถือ ก็มักจะใช้ได้แค่โทรเข้า โทรออก
 
13.  เวลาไปซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต จะต้องระวังอย่างมาก โดยเฉพาะจะต้องดูเรื่องสกุลเงิน เพราะที่ผ่านมาเคยมีคนไปซื้อของ ไม่ได้ตรวจใบเสร็จ ตอนหลังถึงพบว่าสกุลเงินที่ร้านเก็บไปเป็นสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งจะแพงกว่าเงินหยวนหลายเท่า
 
14.  ซื้อของที่มีตาชั่งแบบจีนต้องระวัง เพราะมักจะมีตัวหนังสือเป็นภาษาจีนได้แก่ 500 กรัม หรือ 1000 กรัม คนไทยมักดูไม่เป็น และหน่วยการชั่งก็จะไม่เหมือนที่อื่นคือ 1 ชั่งเท่ากับครึ่งกิโลกรัม นอกจากนี้พ่อค้าส่วนใหญ่จะมีการโกงตาชั่งด้วย ถ้าหากจะซื้อของจึงแนะนำให้อาศัยไกด์ท้องถิ่นช่วยดูตาชั่งให้จะเป็นการดี
 
15.  นักท่องเที่ยวผู้ชายมักจะนิยมไปเที่ยวกลางคืนต่อ โดยเฉพาะไปคาราโอเกะ ปัญหาสำคัญคือการไม่รู้ภาษาจีน จึงทำให้ถูกหลอกได้ง่าย ที่ผ่านมาเคยเจอกรณีลูกทัวร์เจอเช็คบิลไปในราคา 1,000 -10,000 หยวนซึ่งแพงมาก จนต้องเรียกไกด์ไปเคลียร์ ซึ่งจะมีค่าเด็กดริงค์ ค่าเซอร์วิสชาร์ทต่างๆ รวมถึงมีราคาเครื่องดื่มที่ไม่ได้สั่งติดมาด้วย ที่ผ่านมาเมื่อไปเคลียร์ให้ ก็จะถามว่าสภาพสินค้าเป็นอย่างไร ก็จะบอกว่าไม่สมเหตุผล ไม่ยุติธรรม สุดท้ายได้ลดลงมากว่าครึ่ง
 
16.  เวลาไปนอกเมืองและเรียกรถแท็กซี่ไปตามแหล่งต่างๆ คนขับจะบอกว่าให้ราคาเท่าไรก็ได้แล้วแต่คุณ แต่ปรากฎว่าพอไปถึงที่ กลับเรียกเงินสูงมาก เช่น ปกติจะตกอยู่ประมาณ 60 หยวน แต่พอถึงที่แท็กซี่จะเรียกราคา 200 หยวนเป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ให้แท็กซี่ก็จะไม่ยอม เพราะมาส่งถึงที่แล้ว ดังนั้นก่อนขึ้นรถต้องถามให้ละเอียด และต่อรองราคาให้เสร็จสิ้นก่อน
 
 
 
 
พาสปอร์ตกระเป๋าเงินเงินจีน