Loading...

เที่ยวไปกับ ชิล สแควร์ ทราเวล
 เพื่อนเที่ยวเพื่อนคุณ 

Call Center : 094-545-3095

เทศกาลที่สำคัญของญี่ปุ่น

25 มี.ค. 2557

ช่วงเวลาที่สนุกสนานในเทศกาลต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่น

1.เทศกาลวันปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นเฉลิมฉลองการผ่านไปของหนึ่งปีและการมาถึงของปีต่อไปด้วยศรัทธาแรงกล้า ระยะเวลาแห่งการเฉลิมฉลองเรียกว่า "โชงัท สึ" หมายถึง เดือนแรกของปี ประชาชนจะประดับประดาทางเข้าบ้านด้วยกิ่งสนและพู่ระย้าที่ทำจากฟาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ป้องกันมิให้สิ่งมัวหมองเข้ามาแผ้วพาน ของตกแต่งในวันปีใหม่ของชาวญี่ปุ่นเริ่มที่ “คาโดมัทสึ” ) ซึ่งชื่ออาจฟังดูเข้าใจยากสักหน่อย แต่เจ้าสิ่งนี้นั้นถูกนำมาเพื่อใช้ต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษและเทพเจ้าแห่งปี เพื่อเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาว มีความเจริญรุ่งเรือง และให้มีความมั่นคงในชีวิต โดยเจ้าสิ่งนี้จะวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน อาจจะข้างเดียวหรือ 2 ข้างของประตูก็ได้ (ความเชื่อแฝงเกี่ยวกับฮวงจุ้ย) คาโดมัทสึนั้นประกอบด้วยกิ่งสนใหญ่ ไม้ไผ่และช่อดอกบ๊วย ซึ่งช่อดอกบ๊วยถือเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าแห่งปี ซึ่งขอย้อนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคะโดะมัทซึอีกสักเล็กน้อย ค่อนข้างแฝงความเชื่อที่ว่าประตูจะมีมุมประตู เป็นเหลี่ยมๆ การใช้ดอกไม้ไปประดับตรงแต่ละมุมทั้งสองมุมนั้น จะเป็นการลบมุม ลบเหลี่ยมประตูตรงนั้นด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นทำให้ความหมายดี ก็ทำนองคล้ายๆแนวฮวงจุ้ย    
 
 
 
 
2.เทศกาลเซ็ตสึบุน : เซ็ตสึบุน หมายถึงวันที่ 3 หรือ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิตามประเพณี มีการหว่านถั่วแดงอะซุกิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลออกจากบ้านซึ่งมีการจัดพิธีนี้ตามวัดและศาลเจ้าด้วย ประวัติคราวๆ คือเริ่มมีมาตั้งแต่สมัย มุโรมาจิจิได(ประมาณคริสศตวรรษที่ 17) และก็กระทำติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อถึงวันนี้ในแต่ละบ้านจะให้พวกผู้ชาย คือ พ่อและก็ลูกชาย ใส่หน้ากากผี ปีศาจ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของความชั่วร้าย แล้วก็เอาถั่วหว่านเข้าไป แล้วก็พูดว่า “โอนิวะโซโตะ” แปลว่าสิ่งอัปมงคลทั้งหลายจงออกไปและจะโปรยถั่วจากข้างนอกเข้าไปในบ้านและตะโกนว่า“ฟุกุสะอุจิ”  แปลว่าความเป็นสิริมงคลจงเข้ามานอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ให้กินถั่วจำนวนเม็ดเท่ากับอายุของตัวเอง จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยไปตลอดปี
 
 

 

เซ็ตสึบุนเซ็ตสึบุน

 

3. เทศกาลแห่งดวงดาว : ตามตำนานกล่าวว่าดวงดาววีก้าที่อยู่ทางทิศตะวันออกคือเจ้าหญิงทอผ้าธิดาของเจ้าครองฟ้าและดวงดาวอัลแทร์ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกคือหนุ่มเลี้ยงวัวด้วยความรักอันดื่มด่ำที่ทั้งสองคนมีให้แก่กันเป็นเหตุให้เจ้าหญิงละวางงานทอผ้าที่เคยใส่ใจเป็นเหตุให้พระบิดาขุ่นเคืองจึงกั้นขวางดาวทั้งสองไว้คนละฝั่งฟ้าด้วยทางช้างเผือกและในคืนวันที่7 เดือน7 ของทุกปี คือคืนที่ดาวทั้งสองดวงจะโคจรมาใกล้กันมากที่สุดชาวเมืองเซนไดจึงเฉลิมฉลองด้วยการประดับประดาดาวกระดาษดวงใหญ่ให้ปลิวไสวไปทั่วทั้งเมืองมีการนำกระดาษ5 สีหรือ มาเขียนคำอธิษฐานทั้งเรื่องความรักและตัดกระดาษเป็นรูปคล้ายๆโซ่แทนสัญลักษณ์ของทางช้างเผือกนำไปแขวนไว้ที่ต้นไผ่และยังมีขบวนพาเหรดใหญ่โตสวยงามเทศกาลนี้จึงมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุดอีกเทศกาลหนึ่งโดยเฉพาะจังหวัดมิยากิและจังหวัดคานางาวะ เมืองฮิระสึกะ

ทานาบาต้าทานาบาต้า

 

4. เทศกาลฮานามิ : 1-15 เดือนเมษายนของทุกปี เทศกาลชมดอกซากุระบาน ช่วงเวลาแห่งความสุข ประจำฤดูใบไม้ผลิ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัย“เฮอัน” แต่ยุคนั้นจำกัดไว้ในหมู่ขุนนางชั้นสูง และชนชั้นผู้ดีโดยเฉพาะ มีการประกวดแต่งกลอน“ไฮกุ” กลอนไฮกุมี 17 พยางค์ บรรทัดแรก 5 พยางค์ บรรทัดต่อมามี 7 พยางค์ บรรทัดสุดท้าย มี 5 พยางค์ ใช้ภาษาเรียบง่าย สั้นๆได้ใจความ บรรทัดสุดท้าย ทิ้งท้ายให้คิด หรือจบแบบพลิกความคาดหมาย  และร้องรำทำเพลงต่อมาจึงเริ่มแพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน ทุกวันนี้เมื่อถึงช่วงเวลาที่ซากุระออกดอกทุกคนจะพากันออกมาชมความงามสะพรั่ง สถานที่ต่างๆที่เป็นจุดชมดอกซากุระบาน จะมีการออกร้านขายของกันอย่างสนุกสนาน ครอบครัว เพื่อนฝูง จะนัดกันออกมาปิกนิก ปิ้งบาร์บีคิว ดื่มสาเกตามสวนสาธารณะ

ฮานามิฮานามิ
 
 
 
 
5. เทศกาลโอบง: จัดทุกวันที่ 13-16 เดือนสิงหาคมของทุกปี ชาวญี่ปุ่นเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้ เพื่อทำความสะอาดหลุมฝังศพและเซ่นไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ เพราะเชื่อกันว่าดวงวิญญาณคนตายจะกลับลงมาเยี่ยมโลกตามบ้านเรือน จึงมีการจุดตะเกียงหรือคบเพลิงเพื่อส่องนำทางดวงวิญญาณให้กลับบ้านถูก ในเทศกาลมีการร่ายรำพื้นบ้านโบราณบงโอโดริอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยชาวญี่ปุ่นจะสวมยูกาตะ และต้องสวมถุงเท้าที่เรียกว่า“Zori” และรองเท้าเกี๊ยะ ที่เรียก “Geta”เท่านั้น ถึงจะถูกต้องประเพณี ในวันที่ 13-15 สิงหาคม ก็มีการจัดพิธีกรรมเพื่อบูชาบรรพบุรุษ โดยการจุดไฟต้อนรับที่หน้าประตูบ้าน และถวายผักหน้าแท่นบูชา เอาปักไว้บนตะเกียบ แล้วในตอนเย็นของวันที่ 15 ก็มีการส่งวิญญาณบรรพบุรุษด้วยการจุดไฟที่ เรียกว่า โทโรนางาชิ เป็นโคมกระดาษมีเทียนจุดไฟอยู่ภายใน แล้วนำไปลอยในแม่น้ำ เพื่อนำทางให้วิญญาณบรรพบุรุษลอยออกสู่ทะเล แต่พิธีการลอยโคมไฟของแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกัน
 
โอบงโอบง